วรรณกรรมกับตำนานป่าหิมพานต์
สัตว์ส่วนใหญ่ที่ถูกกล่าวถึงในศิลปะและวรรณกรรมของ ประเทศอินเดียและประเทศไทยอาศัยอยู่ในป่า หิมพานต์ป่านี้มีที่ตั้งอยู่ระหว่างเขตประเทศอินเดีย และเนปาล เหนือป่าหิมพานต์ขึ้นไปเป็นสวรรค์ในตำนานของชาวพุทธ ว่ากันว่าคนสามัญธรรมดาไม่ สามารถมองเห็นและ ย่างกรายเข้ามายังป่าแห่งนี้ได้ สัตว์หิมพานต์เหล่านี้นี่เอง ที่ได้ถูกนำมาประยุกต์เป็น ลวดลายงดงามไม่ว่า จะเป็นรูปปั้น รูปวาด รูปแกะสลัก หรือ เครื่องประดับต่างๆ .
รามายณะ:
นักปราชญ์ชาวอินเดียชื่อวาลมีคิได้ประพันธ์มหา กาพย์รามายณะ เมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ ปีที่แล้วและได้
ถูกเผยแพร่ไปยังหลาย ประเทศในแถบทวีปเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยเอง ก็มีเรื่องที่ถูก ดัดแปลงมาจากเรื่องรามานณะเช่นกันโดยใช้ชื่อว่า รามเกียรติ์
เรื่องราวโดยรวมของรามายณะนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับการต่อสู้ ระหว่างเมืองอยุธยาซึ่งเป็นเมืองของ ฝ่ายเทวดาและเมืองลังกา ซึ่งเป็นนครของฝ่ายยักษ์ ตัวเอกของเรื่องคือพระราม (ราม) แห่งเมืองอยุธยามี
พระมเหสีชื่อนางสีดา (สิตา) แต่นางสีดา ถูกลักพาตัว
โดยพญายักษ์ผู้ครองเมืองลังกาชื่อทศกัณฑ์ (ราวะณะ) ท้ายที่สุดฝ่ายยักษ์ก็ปราชัยโดยทางฝ่าย พระรามมีน้องชาย ชื่อพระลักษณ์ (ลัคชมะณะ) และพญาลิงหนุมานช่วยในการทำศึก
มีตัวละครหลายตัวในมหากาพย์เรื่องนี้ถูกจัดว่าเป็น สัตว์หิมพานต์ บางตัวก็มีส่วนช่วยฝ่ายพระรามในการทำศึก และบางตัว สวามิภักดิ์ต่อฝ่ายทศกัณฑ์
|